Checkup : Mousai Wellness Center

การตรวจหาความเสี่ยงโรคมะเร็ง

Cancer Screening

ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ

  • ระยะเวลารับบริการประมาณ 30-60 นาที ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้เข้ารับบริการ
  • ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
  • ไม่จำเป็นต้องงดน้ำงดอาหาร
  • สามารถตรวจได้ทั้งชายหรือหญิงตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป (หรือปรึกษาคลินิก)
  • เป็นการตรวจเลือดในห้องแล็บ
  • ระยะเวลาในการรอฟังผลตรวจ 7 วัน
  • แจ้งผลโดยแพทย์ผ่านทางโทรศัพท์และส่งผลผ่านทางอีเมล

การเตรียมตัวก่อนรับบริการ

  • ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรอดนอน
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีนอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนตรวจ
  • ค่าตรวจวัดระดับวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย 10 รายการ ด้วยวิธีตรวจเลือด มีรายการตรวจดังนี้
  1. วิตามินเอ (Vitamin A)
  2. วิตามินอี (Vitamin E (Alpha-Tocopherol))
  3. วิตามินอี (Vitamin E (Gamma-Tocopherol))
  4. ลูทีน+ซีแซนทีน (Lutein and Zeaxanthin)
  5. เบต้าคริปโตแซนทีน (Beta-Cryptoxanthin)
  6. ไลโคปีน (Lycopene)
  7. เบต้า-แคโรทีน (Beta-Carotene)
  8. อัลฟา-แคโรทีน (Alpha-Carotene)
  9. โคเอนไซม์ คิวเท็น (Coenzyme Q10)
  10. วิตามินซี (Vitamin C)
  • ค่าตรวจวิตามินและแร่ธาตุ 21 รายการ ด้วยวิธีตรวจเลือดเเละปัสสาวะ มีรายการตรวจดังนี้
  1. วิตามินดี 2 (Vitamin D2)
  2. วิตามินดี 3 (Vitamin D3)
  3. วิตามินดี (Vitamin D Total)
  4. เฟอร์ริติน (Ferritin)
  5. วิตามินบี 12 (Vitamin B12)
  6. โฟเลต (Folate)
  7. แมกนีเซียม (Magnesium)
  8. โครเมียม (Chromium)
  9. ทองแดง (Copper)
  10. เซเลเนียม (Selenium)
  11. สังกะสี (Zinc)
  12. โคเอนไซม์ คิวเท็น (Coenzyme Q10)
  13. วิตามินอี (Vitamin E (Alpha-Tocopherol))
  14. วิตามินอี (Vitamin E (Gamma-Tocopherol))
  15. ไลโคปีน (Lycopene)
  16. เบต้า-แคโรทีน (Beta-Carotene)
  17. อัลฟา-แคโรทีน (Alpha-Carotene)
  18. วิตามินเอ (Vitamin A)
  19. วิตามินซี (Vitamin C)
  20. ลูทีน+ซีแซนทีน (Lutein and Zeaxanthin)
  21. เบต้าคริปโตแซนทีน (Beta-Cryptoxanthin)
  • ฟรี! ตรวจสุขภาพเบื้องต้น 9 รายการ (Holistic Check Up Ai Bio Body Scan) มีรายการตรวจดังนี้
  1. ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Function)
  2. ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine Functions)
  3. ระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์ (Urogenital and Renal Functions)
  4. ระบบสั่งการของประสาทและกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Functions)
  5. ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Functions)
  6. ระบบการย่อยอาหาร (Digestive Functions)
  7. ระบบประสาทและสมอง (Neurologic Functions)
  8. ระบบการเผาผลาญ (General Metabolic Functions)
  9. ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune Functions)
  • ค่าตรวจดูลักษณะของเม็ดเลือดเบื้องต้นโดยกล้องจุลทรรศน์คุณภาพสูง (Live Blood Analysis)
  • ค่าแพทย์อธิบายผลตรวจสุขภาพ โดยแพทย์ผู้ชำนาญการ
  • ค่าบริการคลินิก
  • ฟรี! ค่าอาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ 1 มื้อ (Healthy Food and Healthy Drink)

วิตามิน (Vitamin) เป็นสารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการเพื่อให้การทำงานของระบบต่างๆ และการเจริญเติบโตเป็นไปอย่างปกติ โดยเราจะได้รับวิตามินจากอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน

อย่างไรก็ตาม อาหารที่เลือกรับประทานอาจมีวิตามินในปริมาณที่น้อยหรือไม่ครบถ้วน หลายคนจึงเลือกรับประทานวิตามินเสริมเพิ่มเติมจากมื้ออาหารหลัก

รับประทานวิตามินเสริมเวลาไหนดี?

โดยปกติควรรับประทานวิตามินเสริมหลังมื้ออาหาร เพราะร่างกายจะสามารถดูดซึมไปใช้ได้ดีที่สุด และหากเป็นไปได้ควรเลือกมื้ออาหารที่เป็นมื้อใหญ่สุดของวัน

ใครที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามิน?

  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่ได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ
  • ผู้ที่งดรับประทานเนื้อสัตว์
  • ผู้ที่แพ้อาหารบางประเภท เช่น นมวัว
  • ผู้ที่ผ่าตัดกระเพาะหรือลำไส้
  • ผู้รับประทานยาที่ส่งผลต่อการดูดซึมวิตามินบางอย่าง
  • ผู้ที่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจำนวนมากเป็นประจำ ซึ่งจะทำให้ร่างกายสูญเสียวิตามินอย่างรวดเร็ว

การตรวจระดับวิตามิน สำคัญอย่างไร?

การตรวจวัดระดับวิตามินในร่างกาย นอกจากจะทำให้ทราบว่าควรได้รับวิตามินชนิดใดเพิ่มเติมแล้ว ยังเป็นการป้องกันการเลือกรับประทานวิตามินบางชนิดมากเกินไป จนอาจก่อให้เกิดผลเสียด้วย

ประเภทของวิตามิน

วิตามินแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  • วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินบี 1 บี 2 บี 3 บี 5 บี 6 บี 7 บี 9 บี 12 และวิตามินซี กลุ่มนี้จะอยู่ในร่างกายประมาณ 2-4 ชั่วโมง ส่วนที่เหลือจากการใช้งานจะถูกขับออกทางปัสสาวะ โอกาสที่จะสะสมในร่างกายจึงมีน้อย ไม่ค่อยก่อให้เกิดผลข้างเคียง
  • วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ ดี อี และเค วิตามินชนิดนี้จะละลายในไขมัน หรือน้ำมันเพื่อดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ไม่สามารถขับออกทางปัสสาวะได้ หากได้รับมากเกินไปจะถูกสะสมไว้ในร่างกาย ซึ่งหากมีการสะสมมากเกินไปอาจมีผลเสียกับร่างกายได้

หมายเหตุ

  • หากมียา วิตามิน หรือสมุนไพร ที่รับประทานเป็นประจำ อาจนำไปด้วยในวันตรวจ เพื่อปรึกษาแพทย์
Scroll to Top