การตรวจหาสารพิษโลหะหนัก
Heavy Metal Check
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 30-60 นาที ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้เข้ารับบริการ
- ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
- เป็นการตรวจเลือดและปัสสาวะในห้องแลป
- เหมาะสำหรับผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป
- ระยะเวลาในการรอฟังผล 3 วัน
- แจ้งผลโดยแพทย์ผ่านทางโทรศัพท์และส่งผลผ่านทางอีเมล์
- หากต้องการรับผลผ่านทางไปรษณีย์ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 200 บาท
- ไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหาร
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนการตรวจ
- ค่าตรวจโลหะหนักในเลือดและปัสสาวะ ตรวจค่าการทำงานของไต 8 รายการ มีรายการตรวจดังนี้
- ตรวจระดับอะลูมิเนียมในปัสสาวะ (AI)
- ตรวจระดับสารหนูในปัสสาวะ (As)
- ตรวจระดับแคดเมียมในปัสสาวะ (cd)
- ตรวจระดับตะกั่วในปัสสาวะ (Pb)
- ตรวจระดับปรอทในเลือด (Hg)
- ตรวจดูภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี ที่มีผลต่อการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง (G-6-P-D)
- ตรวจดูการทำงานของไตจากค่าของเสียไนโตรเจนในเลือด (BUN)
- ตรวจดูการทำงานของไตจากค่าคลีเอทินินในเลือด (Creatinine+GFR)
- ฟรี! ตรวจสุขภาพเบื้องต้น (Holistic Check Up Ai Bio Body Scan) 9 รายการ มีรายการตรวจดังนี้
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Function)
- ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine Functions)
- ระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์ (Urogenital and Renal Functions)
- ระบบสั่งการของประสาทและกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Functions)
- ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Functions)
- ระบบการย่อยอาหาร (Digestive Functions)
- ระบบประสาทและสมอง (Neurologic Functions)
- ระบบการเผาผลาญ (General Metabolic Functions)
- ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune Functions)
- ค่าตรวจดูลักษณะของเม็ดเลือดเบื้องต้นโดยกล้องจุลทรรศน์คุณภาพสูง (Live Blood Analysis)
- ค่าแพทย์ อธิบายผลตรวจสุขภาพโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ
- ค่าบริการคลินิก
- ค่าอาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ 1 มื้อ ฟรี! (Healthy Food and Healthy Drink)
การตรวจระดับโลหะหนัก โลหะที่เป็นพิษในร่างกาย (Toxic Heavy Metals) สามารถตรวจได้หลายวิธี เช่น ตรวจเลือด ปัสสาวะ หรือเหงื่อ โดยวิธีตรวจที่พบได้ทั่วไปคือการตรวจเลือด เพราะทำได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน และวิเคราะห์ผลได้อย่างแม่นยำ
ร่างกายอาจได้รับโลหะหนัก โลหะที่เป็นพิษ จากทางใดบ้าง?
- น้ำดื่ม อาหารทะเล ผัก ผลไม้
- อากาศ เช่น มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม มลพิษจากการคมนาคมบนท้องถนน
ตัวอย่างสารโลหะหนักที่พบได้ในชีวิตประจำวัน
- อะลูมิเนียม พบได้ในดิน ฝุ่นละอองในอากาศ น้ำดื่ม อาหาร ภาชนะบรรจุต่างๆ ยา สารระงับกลิ่นตัว
- สารหนู⠀เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรและการย้อมผ้า
- ปรอท พบมากในแหล่งที่มีการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง โลหะ โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ หรือสารอุดฟัน
- ตะกั่ว⠀พบได้ในแหล่งอุตสาหกรรมทั่วไป สามารถปนเปื้อนอยู่ในดิน น้ำ และอากาศได้
- แคดเมียม⠀พบได้ในแหล่งทำเหมืองสังกะสีและตะกั่ว แหล่งอุตสาหกรรมทั่วไป ยาสูบ บุหรี่ พลาสติก และยาง
การตรวจโลหะที่เป็นพิษ มีประโยชน์กับใคร?
- ผู้ที่พบความผิดปกติทางร่างกาย เช่น ลดน้ำหนักไม่ลง ฮอร์โมนผิดปกติ เหนื่อยง่าย แขนขาชา หรือโลหิตจาง ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเชื่อมโยงถึงสาเหตุของสารพิษโลหะหนักเกินในร่างกาย
- ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ หรือใกล้แหล่งโรงงาน
- คนที่ทำงานหรืออยู่ในแหล่งสัมผัสสาร เช่น โรงงานแบตเตอรี่ ช่างทอง ช่างเชื่อม
- ผู้ที่มีกิจกรรมกลางแจ้งเป็นประจำ
- ผู้ที่รับประทานอาหารนอกบ้านเป็นประจำ
- ผู้ที่ทำสีผม ทำเล็บบ่อยๆ