การตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้เฉพาะบุคคล
Gutmicrobiome Testing

ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 30-60 นาที ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้เข้ารับบริการ
- ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
- สามารถตรวจได้ทุกช่วงอายุ
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนการตรวจ
- ค่าตรวจหาเชื้อแบคทีเรียเฉพาะบุคคล 1 ครั้ง มีรายการตรวจดังนี้
- ตรวจจุลินทรีย์ลำไส้เฉพาะบุคคล
- โพรไบโอติกเฉพาะบุคคลแบบรับประทาน 3 เดือน
- ฟรี! ตรวจสุขภาพเบื้องต้น (Holistic Check Up Ai Bio Body Scan) 9 รายการ มีรายการตรวจดังนี้
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Function)
- ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine Functions)
- ระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์ (Urogenital and Renal Functions)
- ระบบสั่งการของประสาทและกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Functions)
- ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Functions)
- ระบบการย่อยอาหาร (Digestive Functions)
- ระบบประสาทและสมอง (Neurologic Functions)
- ระบบการเผาผลาญ (General Metabolic Functions)
- ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune Functions)
- ค่าตรวจดูลักษณะของเม็ดเลือดเบื้องต้นโดยกล้องจุลทรรศน์คุณภาพสูง (Live Blood Analysis)
- ค่าแพทย์ อธิบายผลตรวจสุขภาพโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ
- ค่าบริการคลินิก
- ค่าอาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ 1 มื้อ ฟรี! (Healthy Food and Healthy Drink)
การตรวจสุขภาพ เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้นในผู้ที่ยังไม่มีอาการผิดปกติใดๆ หรือเริ่มพบสัญญาณความผิดปกติเกิดขึ้น เพื่อประเมินความเสี่ยงหรือค้นหาโรคที่ยังไม่ปรากฏอาการแน่ชัด เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น
การพบโรคแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความรุนแรง เพิ่มโอกาสในการรักษา และลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวได้
เริ่มตรวจสุขภาพได้ตั้งแต่อายุเท่าไร?
สำหรับบุคคลทั่วไปสามารถเริ่มตรวจสุขภาพได้ตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป แต่หากมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน บุคคลในครอบครัวมีโรคประจำตัวที่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม อาจเริ่มตรวจสุขภาพหลังจากอายุ 15 ปีก็ได้เช่นกัน
- เป็นการตรวจจุลินท์มากถึง 23 ชนิด ตรวจจุลินทรีย์ตัวร้าย 5 ชนิด ตรวจโพรไบโอติกส์ 8 ชนิด ตรวจจุลินทรีย์ตัวหลัก 10 ชนิดรู้จักจุลินทรีย์
- จุลินทรีย์ (Microorganism) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวครอบคลุมทั้ง แบคทีเรีย ไวรัส รา ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในลำไส้ และบริเวณอื่นๆ ด้วย เช่น ปาก ผิว ปอด ทางเดินปัสสาวะ ช่องคลอด มีมากถึง 90% ของเซลล์ทั้งหมดในร่างกาย โดยเซลล์ของร่างกายจริงๆ มีเพียงแค่ 10% เท่านั้น หากเราอยากมีสุขภาพที่แข็งแรง แต่เรายังละเลย ไม่สนใจเซลล์ 90% ที่เหลือของร่างกายเลย สุขภาพของเราจะแข็งแรงอย่างแท้จริงได้อย่างไร
จุลินทรีย์มี 2 ประเภทหลัก
- จุลินทรีย์ในลำไส้มีทั้งตัวดีและตัวร้าย ล้วนแล้วมาจากพฤติกรรมต่างๆ ของเรา ไม่ว่าการทานอาหารเผ็ด การทานอาหารหวาน การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นประจำ ความเครียด ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ ล้วนทำลายสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ หากจุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุล ลำไส้จะทำงานผิดปกติ ก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังและโรคร้ายแรงต่างๆ ได้
- จุลินทรีย์ตัวดี (Good bacteria) ช่วยรักษาสุขภาพลำไส้ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ช่วยการขับถ่าย กระตุ้นภูมิคุ้มกัน เผาผลาญไขมัน และลดสารพิษในลำไส้
- จุลินทรีย์ตัวร้าย (Harmful bacteria) ทำการย่อยโปรตีนกลายเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งเมื่อมีปริมาณมากๆ จะถูกกำจัดที่ตับได้ไม่หมด และยังทำให้เกิดการอักเสบ หากมีจำนวนมากจะโจมตีจุลินทรีย์ที่ดี ทำให้ร่างกายอ่อนแอและเกิดโรค
ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถถอดรหัสดีเอ็นเอของจุลินทรีย์ในมนุษย์ได้จำนวนหนึ่ง จากการศึกษาพวกเขาพบว่าแท้จริงแล้วประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้นี้มีความเชื่อมโยงกับสุขภาพของเราอย่างไม่น่าเชื่อ บุคคลที่มีจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหารชื่อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) มีโอกาสเป็นโรคแผลกระเพาะอาหาร เนื้องอก และมะเร็งในกระเพาะอาหาร มากกว่าคนที่ไม่พบเชื้อจุลินทรีย์ชนิดนี้ หรือหากสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ได้รับความเสียหาย เช่น มีจุลินทรีย์บางชนิดมากเกินไปหรือน้อยเกินไป คุณก็อาจมีความเสี่ยงที่จะป่วยด้วยโรคต่างๆ มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โรคหอบหืด ผิวหนังอักเสบ ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคหัวใจ โรคอ้วน หรืออัลไซเมอร์เป็นต้น งานวิจัยยุคใหม่ระบุว่า โพรไบโอติกส์ และ พรีไบโอติกส์ มีส่วนสำคัญในการช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย และยังเชื่อว่าช่วยลดอัตราเสี่ยงโรคเกี่ยวกับสมอง โรคภูมิแพ้เกี่ยวกับผิวหนัง โรคซึมเศร้า ฯลฯ จากความเชื่อว่าเมื่อลำไส้ดี ระบบการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายจะดีไปด้วย
อาหารที่มี โพรไบโอติกส์ (Probiotics)
- จุลินทรีย์ชนิดดี หรือโพรไบโอติกส์ (Probiotics) เป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิตชั้นดีขนาดเล็ก พบได้ในอาหาร เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ เป็นต้น การมีโพรไบโอติกส์ที่เพียงพอในลำไส้ช่วยให้เกิดความสมดุล และลดโอกาสการเกิดโรคได้ เช่น ลดการอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและช่องคลอด ดูแลระบบย่อยอาหาร รักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อฉวยโอกาสในร่างกาย แก้อาการลำไส้แปรปรวน ท้องร่วง ท้องผูก หากลำไส้อ่อนแอ ระบบน้ำเหลืองที่เชื่อมโยงกันก็จะอ่อนแอ ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันลดลงส่วน พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยการเผาผลาญ และต้านโรคบางอย่างได้เช่น โรคสมองจากโรคตับ, โรคอ้วนภาวะเบตาบอลิกซินโดรม, ลดอัตราเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคมะเร็งลำไส้, เบาหวานชนิดที่ 2, โรคภาวะผื่นผิวหนังอักเสบ
อาหารที่มี พรีไบโอติกส์ (Prebiotics)
- พรีไบโอติกส์ ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก แต่อาหารเหล่านี้จะถูกย่อยสลายเป็นอาหารของโพรไบโอติกส์ ช่วยกระตุ้นการทำงานของโพรโอติกส์ให้ดียิ่งขึ้น ได้แก่ หัวหอม กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง อาร์ติโช้ค ถั่วเหลือง ถั่วแดง ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ธัญพืชและข้าวไม่ขัดสี กล้วย แอปเปิ้ล และผักผลไม้ที่อุดมไฟเบอร์ ใครบ้างที่ควร ตรวจจุลินทรีย์
- ลำไส้แปรปรวน
- ผิวหนังอักเสบ สิว
- ผื่นภูมิแพ้ เป็นๆ หายๆ
- เบาหวานประเภท 2
- หอบ หืด
- ความดันสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
- ทานอาหารแปรรูปบ่อย
- โรคอ้วน เผาผลาญบกพร่อง
ทำไมการ ตรวจจุลินทรีย์ จึงสำคัญ
- รู้หรือไม่ 9 ใน 10 ของเซลล์ในร่างกายนั้นคือ “จุลินทรีย์” หากจุลินทรีย์ในลำไส้ที่เสียสมดุล จะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคเรื้อรังร้ายแรงมากมาย รวมถึงการเลือกทาน Probiotics ให้เหมาะสม เพราะจุลินทรีย์ของแต่ละคนแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรม และพันธุกรรม จุลินทรีย์ในตัวคนเปลี่ยนได้ตลอดเวลา
การตรวจจุลินทรีย์จะไม่เหมือนการตรวจ DNA เพราะ DNA คนเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่จุลินทรีย์ในตัวคนเปลี่ยนได้ เพราะฉะนั้นการตรวจจุลินทรีย์ในร่างกายเราจึงสำคัญอย่างยิ่งไม่แพ้กัน
ทำไมต้องตรวจจากอุจจาระ
- “กินอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น” เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินประโยคนี้กันมาบ้างแล้ว นั่นก็เพราะจุลินทรีย์อาศัยอยู่ในลำไส้ของเรามากที่สุด การตรวจอย่างอื่น ไม่ได้เป็นของที่ผ่านออกมาจากลำไส้ การตรวจจากอุจจาระจึงทำให้ได้ผลเที่ยงตรงมากที่สุด
จากข้อมูลที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า จุลินทรีย์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อร่างกาย ทั้งในด้านที่ให้ประโยชน์และโทษแก่ร่างกาย การรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกายจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและลดความความเสี่ยงของโรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเราสามารถทำได้โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ปราศจากสารพิษปนเปื้อน ลดการใช้ยาปฏิชีวนะหรือใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น การรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกและเพิ่มพรีไบโอติก เป็นต้น
วิธีการเก็บอุจจาระ
- นำกระดาษสวมฝาชักโครก เพื่อถ่ายอุจจาระลงไป
- ให้ก้านสำลีจิ้มและหมุนในอุจจาระ อย่าให้อุจจาระติดขึ้นมาเป็นก้อน แล้วใส่ก้านสำลีลงในหลอดเก็บตัวอย่างอุจจาระ
- หักก้านสำลีตามรอยบาก โดยใช้แรงกดก้านสำลีกับขอบหลอดเก็บตัวอย่างอุจจาระ ปิดฝาหลอดให้แน่น
- นำหลอดเก็บตัวอย่างอุจจาระใส่ซองพลาสติก พร้อมแบบฟอร์ม ใส่ลงไปซองสีขาวกันกระแทก พร้อมสำหรับการส่งมอบ
- ฉีกกระดาษสวมฝาชักโครก ให้ร่วงลงไปในชักโครก แล้วกดน้ำทิ้งได้เลย
หมายเหตุ
- โปรแกรมตรวจสุขภาพแต่ละโปรแกรม มีรายการตรวจที่แตกต่างกัน ซึ่งเหมาะกับช่วงวัย เพศ หรือประวัติสุขภาพที่แตกต่างกัน ควรศึกษาข้อมูลโดยละเอียด เพื่อเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพที่เหมาะสมที่สุด